ความเป็นมาของประเพณียี่เป็ง
ประเพณียี่เป็งหรือประเพณีเดือนยี่เป็นประพณีเก่าแก่ของล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔
ในสมัยอาณาจักรหริภุญชัยได้มีประเพณีเดือนยี่และทำพิธีลอยโขมดแล้ว (มณี พยอมยงค์, ๒๕๔๗, หน้า
๒๓๕; สงวน
โชติสุขรัตน์, ๒๕๑๑, หน้า
๑๑๕) ในเวลาค่ำคืนของวันเพ็ญเดือนยี่ มีการจัดแต่งเครื่องสักการบูชาใส่กระทง
จุดธูปเทียนและนำปล่อยลงในน้ำ แสงไฟจะกระทบกับน้ำ เกิดเป็นเงาขึ้นวับๆ แวมๆ
มองเห็นเป็นเสมือนแสงพะเนียงไฟผีโขมด ซึ่งผีโขมดนี้ เป็นชื่อเรียกผีป่า
ที่ออกหากินในเวลากลางคืน มีพะเนียงไฟมองเห็นเป็นระยะอย่างผีกระสือชาวล้านนาจึงเรียกว่าลอยโขมด(มณี พยอมยงค์, ๒๕๔๗, หน้า
๒๔๔)
สะตวง ในประเพณียี่เป็ง
ตำนานที่กล่าวถึงที่มาของประเพณียี่เป็งมีอยู่หลายตำนาน
เช่น ในหนังสือตำนานโยนกและจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า ประเพณีลอยโขมด หรือลอยไฟ
เป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้วการลอยโขมดเกิดขึ้นที่อาณาจักรหริภุญไชย(จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน) เมื่อจ.ศ.๓๐๙ หรือประมาณ
พ.ศ. ๑๔๙๐ช่วงพุทธศัตวรรษที่๑๔มีกลุ่มคนมอญหรือเม็งที่อาศัยอยู่ในเมืองหริภุญไชยได้อพยพหนีอหิวาตกโรคที่เกิดขึ้นในเมืองสะเปาในประเพณียี่เป็งสะตวง ในประเพณียี่เป็งภาพใกล้
ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจึงพากันอพยพออกจากหริภุญชัยไปอยู่ที่เมืองสะเทิมหรือสุธัมมวดี
และต่อไปยังเมืองหงสาวดีเป็นเวลาถึง ๖ ปี
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวหลายคนก็มีครอบครัวใหม่ที่นั่น และเมื่อทราบข่าวว่าอหิวาตกโรคในหริภุญชัยได้สงบลงแล้ว
พวกที่คิดถึงถิ่นเดิมต่างพากันเดินทางกลับหริภุญไชย
เมื่อถึงวันครบรอบปีที่ได้จากพี่น้องที่เมืองหงสาวดี จึงจัดดอกไม้ธูปเทียน
เครื่องสักการะ พร้อมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ใส่ลงใน สะเปา ลักษณะคล้ายเรือ
หรือใส่ในสะตวงหรือกระทงลอยลงน้ำแม่ปิง น้ำแม่กวง แม่ทา
เพื่อส่งความระลึกถึงญาติพี่น้องที่ยังอยู่เมืองหงสาวดี
จึงเป็นมูลเหตุของการลอยสะเปาหรือลอยโขมด หรือลอยกระทงนับแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน
(สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๑๑, หน้า
๑๑๗ – ๑๑๘; ศรีเลา
เกษพรหม, ๒๕๔๒, หน้า
๕๘๕๑; ประสงค์
แสงงาม, สัมภาษณ์, ๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๕๑)
ตำนานประเพณียี่เป็งที่พบในคัมภีร์ใบลานที่ใช้เทศนาธัมม์ตามวัดต่างๆในล้านนา
เช่น คัมภีร์อานิสงส์ประทีส คัมภีร์อานิสงส์ผางประทีส และคัมภีร์อานิสงส์ยี่เป็ง
ลอยประทีสโคมไฟ เป็นคัมภีร์ที่มักใช้เทศนาธัมม์ในช่วงประเพณียี่เป็ง
ในคัมภีร์เหล่านี้ ได้กล่าวถึงตำนานหรือมูลเหตุแห่งการบูชาและอานิสงส์ที่เกิดจากการบูชาผางประทีส
ไว้ดังนี้
ประเพณียี่เป็ง โคมไฟ
ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ประทีส
กล่าวไว้ว่าหลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วได้ประทับอยู่เมืองสาวัตถี
และเสด็จไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จกลับลงมาโปรดพระพุทธบิดา
เมื่อถึงเดือน ยี่เป็ง มีเทวบุตรตนหนึ่ง ชื่อ สยามาเทวบุตร พร้อมด้วยบริวารต้องการสักการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยประทีส
จึงแปลงกายเป็นนก ใช้ปากและเท้าถือผางประทีสบินไปพร้อมนกแปลง ซึ่งเป็นบริวาร
ประทักษิณรอบพระพุทธเจ้า ๓ รอบ ได้เกิดอัศจรรย์แสงประทีสสว่างไสวไปทั่วชมพูทวีป
คนทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้พากันมาทูลถามพระพุทธเจ้าพระพุทธองค์จึงเทศนาธรรมถึงอานิสงส์การจุดประทีสเป็นพุทธบูชาว่า
การสักการบูชาประทีสในเดือนยี่เป็ง ถือเป็นการบูชาพระรัตนตรัย นอกจากนั้น
อานิสงส์การบูชาประทีสยังส่งผลทำให้ผู้ถวายทานมีรูปร่างและผิวพรรณงดงามไปทุกๆชาติเป็นที่รักแก่คนและเทวดาทั้งหลาย (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๔๒, หน้า
๗๘๘๖)
ผางประทีป
ประเพณียี่เป็ง
ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อ
อานิสงส์ผางประทีส กล่าวไว้ว่า พระเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ
พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร
ที่ทั้งห้าพระองค์ได้กำเนิดจากแม่กาเผือกเป็นไข่ห้าฟอง
และวันหนึ่งขณะที่แม่กาออกไปหาอาหารได้เกิดพายุ
ทำให้ไข่ทั้งไข่ฟองพัดตกจากรังไหลไปตามแม่น้ำและมีแม่ไก่แม่นาค แม่เต่า แม่โค
และแม่ราชสีห์เก็บไปเลี้ยง เมื่อไข่ทั้งห้าฟองฟักออกมาเป็นมนุษย์เพศชายและได้บวชเป็นฤๅษีทั้งห้า
เมื่อฤๅษีทั้งห้าได้พบกันจึงไตร่ถามถึงมารดาของแต่ละองค์แต่ละองค์ก็ตอบว่าแม่ไก่เก็บมาเลี้ยง
แม่นาคเก็บมาเลี้ยง แม่เต่าเก็บมาเลี้ยง แม่โคเก็บมาเลี้ยง
และแม่ราชสีห์เก็บมาเลี้ยง ฤๅษีทั้งห้าจึงสงสัยว่าแม่ที่แท้จริงของตนเป็นใครจึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ด้วยคำอธิษฐานจึงทำให้พกาพรหมผู้เป็นแม่ได้แปลงกายเป็นกาเผือกบินลงมาเล่าเรื่องในอดีตให้ฤๅษีทั้งห้าฟังและได้บอกว่าหากคิดถึงแม่ให้น้ำด้ายดิบมาฟั่นเป็นตีนกา
แล้วจุดเป็นประทีสบูชาในเดือนยี่เป็ง (อุดม รุ่งเรืองศรี, ๒๕๔๒, หน้า
๗๘๙๐)
ประเพณียี่เป็ง ลอยโคม
ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ยี่เป็ง
ลอยประทีสโคมไฟ ปรากฏในหนังสือ ธรรมเทศนาพื้นเมืองเรื่อง อานิสงส์ยี่เป็ง
ลอยประทีปโคมไฟ (๒๕๓๐) กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เชตวนาราม
พระองค์ได้เทศนาชาดกเรื่อง อานิสงส์ยี่เป็ง ลอยประทีสโคมไฟ ว่า
ในยุคของพระพุทธเจ้าชื่อโกนาคมนะ ครั้งหนึ่งพระสาวกชื่อ อุตตระ
ได้เข้านิโรธสมาบัติในถ้ำสุตคูหาในดอยสิริทัตกะ
และเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติได้เกิดนิมิตว่า
หากผู้ใดได้ถวายทานแก่พระองค์ในวันพรุ่งนี้จะได้อานิสงส์เป็นอย่างมากและได้เล็งเห็นด้วยญาณว่ามีชายทุกข์ไร้เข็ญใจผู้หนึ่งจะรอถวายทานแก่พระองค์รุ่งเช้าพระองค์จึงได้อุ้มบาตรไปโปรดยังบ้านชายผู้นั้น
ชายผู้นั้นเกิดปิติศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งจึงได้ถวายข้าวกับแคบหมูแก่พระองค์และอธิษฐานขอให้ได้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระว่า
เป็นเพราะเหตุใด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
มีชายทุกข์ไร้เข็ญใจได้ถวายแคบหมูใส่บาตรแก่พระอุตตระเถรเจ้าและพระอุตตระเถรเจ้าได้นำมาใส่ผางประทีสจุดเป็นพุทธบูชา
เมื่อจุดบูชาในวันเดือนยี่เป็งจะมีผลานิสงส์มากนัก
ประเพณียี่เป็ง
พระพุทธเจ้าได้เทศนาธัมม์อานิสงส์เดือนยี่เป็งลอยประทีสโคมไฟให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
หากได้บูชาประทีสโคมไฟในวันเดือนยี่เป็ง
จะได้ผลานิสงส์ผิวพรรณงดงามเป็นที่รักแก่คนและเทวดา
ไม่มีโรคภัยเบียดเบียนและได้ไปเกิดบนสรวงสวรรค์ และในตอนท้ายของธัมม์กล่าวต่อไปว่า
ในเดือนยี่เป็งบุคคลใดที่ทำประทีปโคมไฟไปลอยในแม่น้ำน้อยใหญ่หนองวัง และโบกขรณีเพื่อบูชารอยพระพุทธบาตรริมฝั่งแม่น้ำเมืองนาคราชบาดาลก็ดีเมื่อเกิดมาในชาตินี้
จะได้เป็นพญาใหญ่โต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น